จูลีแอนน์ มัวร์
จูลีแอนน์ มัวร์

จูลีแอนน์ มัวร์

จูลี แอนน์ สมิธ (อังกฤษ: Julie Anne Smith;เกิดวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 1960) หรือชื่อในการแสดงคือ จูลีแอนน์ มัวร์ (อังกฤษ: Julianne Moore, จากการนำชื่อแม่คือ แอนน์ มาต่อท้ายชื่อจริงของเธอ และตามด้วยชื่อกลางของพ่อคือ มัวร์) เป็นนักแสดงชาวอเมริกันสกอตแลนด์ ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์มาแล้ว 5 ครั้ง โดยเธอได้รับรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากเรื่อง อลิซ ไม่ลืม (ค.ศ. 2014) และได้รับรางวัลเอมมี 2 ครั้ง (ทั้งรางวัลเดย์ไทม์เอมมี และ รางวัลไพรม์ไทม์เอมมี) รวมทั้งยังเคยได้รับรางวัลลูกโลกทองคำ, รางวัลแบฟตาและรางวัลแซกอวอร์ดส์หลังจากเธอจบการศึกษาศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาการละคร จากมหาวิทยาลัยบอสตัน เธอก็เริ่มมีผลงานการแสดงในละครโทรทัศน์ที่ออกอากาศทางสถานีเอบีซีและซีบีเอส ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1984–1988 โดยเธอได้รับรางวัลเดย์ไทม์เอมมี สาขานักแสดงหญิงบทไร้เดียงสายอดเยี่ยม (Outstanding Ingenue) ประเภทซีรีย์ดรามา ในปี ค.ศ. 1988 จากละครชุดเรื่อง แอสเดอะเวิลด์เทินส์ และได้แสดงภาพยนตร์เรื่องแรกกับค่ายพาราเมาต์พิกเจอส์ใน อาถรรพ์ ตำนานมรณะ (ค.ศ. 1990) ตามมาด้วยการรับบทตัวประกอบและนักแสดงสมทบในภาพยนตร์เรื่องอื่นๆเช่น มือคู่นี้ เลี้ยงเป็นเลี้ยงตาย (ค.ศ. 1992), มาดอนน่า ร้อนปกติที่ไม่ปกติ, เบนนี่ กับ จูน คู่หัวใจพรหมลิขิต และ ขึ้นทำเนียบจับตาย (ค.ศ. 1993) จนกระทั่งเธอเริ่มมีชื่อเสียงจากการรับบทนักแสดงนำเป็นครั้งแรกใน วานยา ออน โฟตีเซคันด์ สตรีท (ค.ศ. 1994) ที่สร้างจากบทละครเรื่อง"ลุงวานยา" ของอันตอน เชคอฟ และได้แสดงนำใน เซฟ ไม่ตายก็เหมือนตาย (ค.ศ. 1995) รวมถึงแสดงนำคู่กับฮิว แกรนต์ใน รักน้องต้องป่องได้ (ค.ศ. 1995) และการรับบทเป็น "ดร.ซาราห์ ฮาร์ดิง" ใน เดอะ ลอสต์ เวิล์ด จูราสสิค พาร์ค (ค.ศ. 1997)โดยในระหว่างช่วงกลางยุคคริสต์ทศวรรษ 1990 ถึงช่วงต้นยุคคริสต์ทศวรรษ 2000 เป็นช่วงที่เธอประสบความสำเร็จมากที่สุดโดยในช่วงดังกล่าวเธอได้รับการเสนอชื่อให้เข้าชิงรางวัลออสการ์ถึง 4 ครั้ง จากเรื่อง บูกี้ไนท์ (ค.ศ. 1997), สุดทางรัก (ค.ศ. 1999), สวรรค์ลิขิตพิศวาส (ค.ศ. 2002) และ ลิขิตชีวิตเหนือกาลเวลา (ค.ศ. 2002) นอกจากนี้ยังมีผลงานภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จเรื่องอื่นๆเช่น เดอะ บิ๊ก เลโบสกี (ค.ศ. 1998), เทพบุตรแม็กโนเลีย (ค.ศ. 1999), อำมหิตลั่นโลก (ค.ศ. 2001), พลิกวิกฤต ขีดชะตาโลก (ค.ศ. 2006), ชายโสด หัวใจไม่ลืมนาย (ค.ศ. 2009), เดอะ คิดส์ อาร์ ออลล์ ไรต์ (ค.ศ. 2010) และ โง่เซ่อบ้า เพราะว่าความรัก (ค.ศ. 2011) จากนั้นเธอได้รับรางวัลไพรม์ไทม์เอมมี สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ประเภทภาพยนตร์ทางโทรทัศน์ จากการรับบทเป็น แซราห์ เพลิน ในภาพยนตร์เรื่อง เกมเชนจ์ ทางช่องเอชบีโอ (ค.ศ. 2012) ซึ่งนับเป็นการได้รับรางวัลเอมมีเป็นครั้งที่ 2 ของเธอ ในปี ค.ศ. 2014 เธอจะได้รับการเสนอชื่อให้เข้าชิงรางวัลออสการ์เป็นครั้งที่ 5 จากการแสดงนำในภาพยนตร์เรื่อง อลิซ ไม่ลืม ที่เธอต้องรับบทเป็น "อลิซ ฮาวแลนด์" ผู้หญิงที่มีอาการของโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งการแสดงของเธอได้รับคำชื่นชมจากนักวิจารณ์ทั่วโลก ส่งผลให้เธอได้รับรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม โดยนับเป็นการได้รับรางวัลออสการ์เป็นครั้งแรกของเธอ หลังจากการถูกเสนอชื่อเข้าชิงทั้งหมด 5 ครั้ง พร้อมกันนี้เธอยังได้รับรางวัลแบฟตา,รางวัลลูกโลกทองคำและรางวัลแซกอวอร์ดส์ ก่อนที่ผลงานต่อมาของเธอในเรื่อง มายาวิปลาส ที่ออกฉายในปีเดียวกันยังคงได้รับกระแสชื่นชมและทำให้เธอได้รับรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์กาน นอกจากนี้เธอยังเป็นส่วนหนึ่งของชุดภาพยนตร์ เกมล่าเกม โดยเธอรับบทเป็น "ประธานาธิบดีหญิง อัลมา คอยน์" ใน เกมล่าเกม: ม็อกกิ้งเจย์ ภาค 1–2 (2014–2015)จูลีแอนน์ มัวร์ เคยถูกนิตยสารไทม์จัดอันดับให้อยู่ใน 100 บุคคลที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลก ประจำปี 2020 และ เดอะนิวยอร์กไทมส์ ได้รวมชื่อของเธอให้เป็นหนึ่งในนักแสดงหญิงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 21 โดยเธอมีบุตร 2 คนกับ บาร์ท ฟรอยด์ลิช ผู้กำกับและผู้เขียนบทที่อายุน้อยกว่าเธอ 10 ปี

จูลีแอนน์ มัวร์

เกิด จูลี แอนน์ สมิธ
3 ธันวาคม ค.ศ. 1960 (61 ปี)
เมืองเฟย์เอตต์วิลล์ รัฐนอร์ทแคโรไลนา, สหรัฐอเมริกา
อาชีพ นักแสดง โปรดิวเซอร์
คู่สมรส
  • จอห์น กูลด์ รูบิน (สมรส ค.ศ. 1986; หย่าปี 1995)
  • บาร์ท ฟรอยด์ลิช (สมรส ค.ศ. 2003)
บุตร 2
สัญชาติ
ปีปฏิบัติงาน 1984–ปัจจุบัน
การศึกษา มหาวิทยาลัยบอสตัน (ศป.บ.)

แหล่งที่มา

WikiPedia: จูลีแอนน์ มัวร์ http://www.aoltv.com/2010/04/01/julianne-moore-ret... http://www.frecklefacestrawberry.com/index.html http://www.imdb.com/name/nm0000194/ http://www.legacy.com/obituaries/washingtonpost/ob... http://www.theartsdesk.com/film/theartsdesk-qa-act... https://ew.com/article/2010/03/01/julianne-moore-a... https://www.theguardian.com/film/2003/feb/01/featu... https://www.theguardian.com/film/2006/aug/26/featu... https://www.theguardian.com/film/2010/oct/28/julia... https://web.archive.org/web/20090518025525/http://...